ผื่นที่ผิวหนังจาก “ แพ้ยา”

ผื่นที่ผิวหนังจาก “ แพ้ยา

คุณแม่น้องวินนี่กังวลใจมากๆ เมื่อคุณหมอจัดยาแก้อักเสบรักษาอาการหลอดลมอักเสบของลูกสาว เนื่องจาคุณตาเคยมีประวัติแพ้ยากลุ่มซัลฟาแบบรุนแรงมาก่อน  ข้องใจว่าจะรอให้อาการไอหายไปเองดีมั้ย หรือจะเริ่มทานยาตามคุณหมอสั่งเลยดี

อาการแพ้ยา เป็นภาวะที่ไม่พึงประสงค์จากยา เกิดได้ทั้งขนาดรุนแรง และไม่รุนแรง ซึ่งอัตราการเกิดไม่แน่นอน โดยแพทย์ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้นะคะ  อาการอาจเกิดกับทางผิวหนังอย่างเดียว หรืออาจเกิดอาการกับหลายๆระบบพร้อมๆกับ  เช่น   ทางผิวหนัง ตับ และระบบไหลเวียนโลหิต และอาการผื่นทางผิวหนังอาจเกิดภายหลังได้รับยาไม่กี่วินาที หรือเป็นวันก็ได้ค่ะ  โดยส่วนใหญ่จะเกิดภายใน 1 สัปดาห์ แต่ในยาบางกลุ่ม เช่นกลุ่ม Penicillin กึ่งสังเคราห์ และในกลุ่ม ampicillin ถ้าลูกไม่เคยทานยาแก้อักเสบชนิดนี้มาก่อน การเกิดผื่นอาจเกิดนานขึ้นหลังจากได้รับยานานถึง 2 สัปดาห์ได้ค่ะ

ผื่นที่พบจากการแพ้ยา เป็นแบบไหน

-          ผื่นแดง ราบ หรือที่เราเรียกว่า maculopapular rash เป็นผื่นที่พบได้บ่อยสุดค่ะ ส่วนใหญ่จะมีอาการคันร่วมด้วย มักเกิดหลังได้รับยาประมาณ 1 สัปดาห์ พบบ่อยในเด็กๆที่ได้ยากันชัก ยาปฏิชีวนะในกลุ่ม penicillin หรือยากลุ่มซัลฟา

-          ผื่นแบบลมพิษพบรองลงมาลักษณะนูน บวมแดง และบางคนอาจมีมือเท้าบวม ปากบวม หรือเปลือกตาบวมร่วมด้วยได้ ผื่นเกิดภายในไม่กี่วินาทีหลังได้รับยา และส่วนใหญ่เกิดภายใน 36 ชั่วโมงหลังทานยา ผื่นจะหายไปใน 24 ชั่วโมง แล้วเกิดผื่นใหม่เปลี่ยนตำแหน่งไป มีอาการคันร่วมด้วย

-           ผื่นคันบวมแดง คล้าย eczema ลักษณะบวม แดง อาจมีตุ่มน้ำใสขนาดเล็กแล้วแตกเป็นน้ำเหลือง เกิดภายหลังใช้ยาทาหรือสัมผัสสารที่แพ้

-          ผื่น Steven Johnson syndrome หรือ Toxic epidermal necrolysis(TEN) พบได้น้อย แต่อาการรุนแรงมาก เด้กๆจะมีไข้ ไอ น้ำมูก อาเจียน 1-2 สัปดาห์ก่อนมีผื่นได้ ผื่นมีลักาณะแดง ตรงกลางมีสีเข้ม อาจพบตุ่มน้ำ มีผื่นที่พบบริเวรเยื่อบุตา ในปาก และบริเวณอวัยวะเพศร่วมด้วย พบได้ในกลุ่มยากันชัก และยาลดการอักเสบในกลุ่ม NSAIDs(เช่นยาลดไข้สูงที่นิยมทานในเด็กๆ)

-          ผื่นชนิดอื่นๆ เช่น Fixed drug eruption พบได้ค่อนข้างน้อย

ภาวะไม่พึงประสงค์จากการแพ้ยา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ สามารถคาดการณ์ได้ เช่น การทานพาราเซตามอล ที่ใช้ลดไข้เกินขนาดแล้วเกิดภาวะตับวาย หรือทานยาแก้แพ้ กลุ่มแอนติฮีสตามีนแล้วมีอาการง่วงนอน  และกลุ่มที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เช่น เมื่อได้รับยาทำให้เกิดอาการซีด ในเด็กที่มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกง่าย จากการขาดเอ็นไซด์ G6PD  ทานยากลุ่ม penicillin แล้วมีอาการแพ้มีผื่นแบบลมพิษ หรือการแพ้สารทึบแสงที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสี

การแพ้ยา เกิดจากอะไร

            มีหลายปัจจัยนะคะที่ทำให้เกิดผื่นแพ้ยา อย่างแรก คือ ยา น้ำหนักโมเลกุลของยา การ metabolite โครงสร้างโมเลกุลของยาที่คล้ายกัน จะทำให้เกิดการแพ้ข้ามกลุ่มได้ ร่างกาย วิธีการที่ยาเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดผื่นแพ้ยาได้ต่างกัน เช่น ยาฉีดทำให้เกิดผื่นแพ้แบบเฉียบพลันภายในระยะเวลานาทีถึงชั่วโมง แต่ยาตัวเดียวกันนี้เมื่อรับประทานอาจทำให้กว่าจะมีผื่นนานเป็นสัปดาห์  เด็กเล็กระบบภูมิคุ้มกันยังทำงานไม่เต็มที่ จะมีโอกาสแพ้ยาได้น้อยกว่า สิ่งแวดล้อม ยาบางชนิด ถ้าทานปกติจะไม่มีผื่น แต่ถ้าทานแล้วถูกแสงจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้(photoallergic)

ทำอย่างไรเมื่อสงสัยลูกแพ้ยา

หมอแนะนำให้หยุดยาที่รับประทานอยู่ทันทีนะคะ แล้วไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องค่ะ ถ้าอาการไม่ชัดเจน แพทย์อาจต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมค่ะ และเมื่อตรวจพบว่าแพ้ยาแน่นอนแล้ว อาจได้รับประทานยาแก้แพ้และยาทาร่วมด้วย ซึ่งขึ้นกับชนิดและความรุนแรงของผื่น ถ้าอาการรุนแรงอาจต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เภสัชกรจะลงประวัติไว้และออกบัตรแพ้ยาให้ เพื่อคุณพ่อคุณแม่จะนำติดตัวไปด้วยทุกครั้งเวลาไปพบคุณหมอนะคะ

Previous
Previous

ขาวด้วยกลูต้าไธโอน

Next
Next

ผิวเด็กทารก ควรดูแลอย่างไร?