ตุ่มเล็กๆเจ้าปัญหา ที่เรียกว่า “หูด”
หลายคนอาจจะกังวล หรือสงสัยกับอาการเป็นตุ่มงอกออกมาตามบริเวณผิวหนัง อย่าพึ่งตกใจ เพราะอาจเป็นอาการแพ้สารเคมีบางชนิด หรืออาจจะเป็นเพียงหูดเม็ดเล็กที่สามารถรักษาได้
โรคหูด เป็นเพียงโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส (Human Papillomavirus) ที่ผิวหนัง ทำให้เกิดลักษณะเป็นตุ่มนูนแข็งขนาดตั้งแต่ 2 มิลลิเมตร จนถึงขนาดใหญ่เป็นเซนติเมตร มักพบบริเวณมือและเท้า และลามไปบริเวณผิวหนังใกล้เคียงได้อีกด้วย โดยสามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส โดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยไปแกะหรือเกาจนเกิด รอยถลอกเล็กๆบนผิวหนัง ก็จะทำให้โอกาสของการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีหูดชนิดอื่นที่เกิดจากไวรัสชนิดนี้เช่นกัน ได้แก่ หูดข้าวสุก (Molluscom Contagiosum) ซึ่งมักเป็นตุ่มนูนแบนเล็กๆ เป็นจำนวนมากบริเวณ หน้า แขน และลำตัว พบบ่อยในเด็กวัยอนุบาลจนถึงประถมศึกษา และยังมีหูดอีกชนิดหนึ่งซึ่งมักพบบริเวณเยื่อบุของผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ และรอบทวารหนัก เรียกว่า หูดหงอนไก่ เป็นตุ่มแดงนูนคล้ายหงอนไก่ และมักติดต่อทางเพศสัมพันธ์
สำหรับวิธีรักษานั้นไม่ยาก เพียง การต้องระวังการสัมผัสเชื้อ มีตุ่มก็ละเว้นการแคะ แกะ เกา และปรึกษาแพทย์ด้านผิวหนัง เพื่อทำการรักษา ด้วยการ ยาทา ซึ่งมีส่วนผสมของ Salicylic Acid ทาบริเวณที่เป็นหูดวันละ 2 ครั้ง เพื่อให้ผิวหนังที่นูนหนาจากการติดเชื้อไวรัสร่อนหลุดไป
หรือสามารถรักษาด้วยนวัตกรรมแพทย์สมัยใหม่ผ่านการจี้ด้วย Liquid Nitrogen ซึ่งมีความเย็นมาก ทำให้เซลล์ผิวหนังบริเวณที่เป็นหูดแตกตัว และถูกทำลายไป วิธีนี้สะดวก รวดเร็ว และไม่เกิดแผลเป็น แต่อาจต้องทำการรักษาต่อเนื่องกันหลายครั้งจึงจะหายขาด และอีกวิธีที่จะช่วยให้หายขาด คือ การยทำเลเซอร์ Carbondioxide Laser ซึ่งวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพของการรักษาสูงสุด เนื่องจากความร้อนจากเลเซอร์ สามารถทำลายเซลล์ผิวหนังที่ติดเชื้อ และเชื้อไวรัสที่หลงเหลืออยู่ได้หมด และหายขาดได้ในครั้งเดียวของการรักษา
คราวนี้ก็หมดกังวลกับตุ่มเล็กตุ่มน้อยที่เรียกว่า หูด อันเกิดขึ้นตามร่างกาย ทั้งนี้การรักษาสุขภาพผิวยังต้องหมั่นรักษาควมสะอาด และใส่ใจดูแลผิวพรรณอยู่เสมอในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง