OUR Hospital Services
กลากที่ศีรษะ
Tinea capitis, also known as scalp ringworm, is a fungal infection of the scalp. It is commonly referred to by its medical abbreviation T. capitis. The term “scalp ringworm” is used in everyday language, while Tinea capitis is the formal medical term.
Thinning Hair Due to Hormones (ผมบางจากฮอร์โมน)
ผมบางจากฮอร์โมน (Androgenetic alopecia)
ผมร่วงจากฮอร์โมน เป็นผมร่วงที่พบบ่อย เป็นลักษณะผมบางลงในบางตำแหน่งที่ไวต่อฮอร์โมนแอนโดรเจน เช่นที่ตำแหน่งศีรษะทางด้านหน้า ในขณะที่บริเวณท้ายทอยไม่ค่อยไวต่อฮอร์โมนแอนโดรเจน ดังนั้นผู้ป่วยผมบางจากฮอร์โมน ผมจะบางในส่วนด้านหน้าหรือหน้าผาก แต่บริเวณท้ายทอยยังมีผมดกดำอยู่ ด้วยเหตุนี้การผ่าตัดปลูกผมมักเลือกนำตอผมจากบริเวณท้ายทอยมาปลูกให้บริเวณที่บาง เพราะเส้นผมยังดำและเส้นหนาสมบูรณ์ดี ปัจจัยที่ทำให้เกิดผมบางของฮอร์โมนที่สำคัญคือปัจจัยทางกรรมพันธุ์ มีพ่อแม่เป็นผมบางจากฮอร์โมน เราก็มีโอกาสที่จะเป็นมากขึ้น โดยผมที่บางลงจะเกิดจากผมที่เคยเส้นหนาสีเข้ม ย้อนกลับไปเป็นผมเส้นบาง สั้น สีอ่อน โดยลักษณะการบางส่วนใหญ่จะมีแบบแผนชัดเจน ดังรูป ผู้ชายมักพบผมบางด้านหน้าผาก หรือที่เรียกแบบสุขภาพว่าหน้าผากสูง ผู้หญิงมักพบบางที่กลางศีรษะมากกว่า
การรักษาผมบางจากฮอร์โมน แตกต่างกันออกไปตามความรุนแรงของโรค เช่น ถ้าเป็นแค่เล็กน้อยอาจจะใช้ยาหยอดที่ชื่อว่า Minoxidil กระตุ้นให้ผมขึ้น และหนาขึ้น ถ้าผมบางมากแพทย์อาจจะพิจารณาให้ยารับประทาน หรือพิจารณาปลูกถ่ายผม ตามข้อบ่งชี้ หรือความกังวลใจของคนไข้อีกครั้ง ไม่แนะนำให้รักษาเอง เพราะยาทาและยารับประทานมีผลข้างเคียงบางอย่างที่แพทย์ควรให้ความรู้กับคนไข้ในการใช้ และการปฏิบัติตัว และคอยติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ
Patchy Hair Loss (ผมร่วงเป็นหย่อม)
ผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata)
ผมร่วงเป็นหย่อม เป็นภาวะที่พบบ่อยเช่นกัน ลักษณะผมร่วงเป็นวงกลมหรือรี ขอบชัดเจน ถ้ามองด้วยตาเปล่าใกล้ๆ หรือใช้กล้องกำลังขยายสูงช่วยอาจจะพบเส้นผมที่มีลักษณะคล้ายเครื่องหมายอัศเจรีย์ที่บริเวณขอบของวงผมร่วง โดยบริเวณที่เกิดผมร่วงพบได้ทั้งที่ศีรษะและที่ อื่น ๆ เช่น คิ้ว ขนตา หรือ หนวด
สาเหตุของผมร่วงเป็นหย่อม ยังไม่ทราบชัดเจน เชื้อว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของภาวะภูมิคุ้มกันตัวเอง และบางส่วนเกี่ยวของทางกรรมพันธุ์ ทำให้เม็ดเลือดขาวของเรามากินรากผมของเราเอง โดยไม่มีสาเหตุชัดเจน หลังจากนั้นรากผมมีขนาดเล็กลง จึงหลุดร่วงง่าย
การรักษาผมร่วมเป็นหย่อมแบบใดนั้นแพทย์จะพิจารณาตามพื้นที่ความกว้างของผมร่วง ความรุนแรงที่เป็น และอายุของผู้ป่วย ถ้าอายุน้อยว่า 10 ปีอาจจะพิจารณาเป็นยาทา ถ้าผู้ป่วยอายุมากกว่า10 ปี แต่ผมร่วงน้อยกว่า 50% อาจจะพิจารณาฉีดยาลดการอับเสบ ร่วมกับการทายากระตุ้นผมขึ้นแล้วรอติดตามผมการรักษาอีกครั้ง ถ้าผมร่วงเป็นพื้นที่มากกว่า 50 %อาจจะพิจารณา ทายากระตุ้นภูมิคุ้มกันบางตัวซึ่งแพทย์เท่านั้นที่สั่งได้เนื่องจากมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ต้องการการดูแลโดยแพทย์ อาจจะทำการรักษาร่วมกับรับประทานยา หรือฉัดยาก็ได้ โรคนี้การพยากรณ์โรคค่อนข้างดีมาก คือผมจะขึ้นใหม่เต็มพื้นที่ แต่อาจจะเป็นๆหายๆได้
Telogen effluvium (ผมร่วงระยะเทโลเจนจากปัจจัยบางอย่าง)
ผมร่วงระยะเทโลเจนจากปัจจัยบางอย่าง (Telogen effluvium)
ภาวะผมร่วงในระยะเทโลเจนที่มากกว่าปกติ พบได้ในผู้ป่วยที่มีผมร่วงทั่วๆศีรษะ ปกติผมของเราร่วง 50 – 100 เส้น ซึ่งผมที่ร่วงจะอยู่ใน ระยะเทโลเจน บางส่วนเป็นเคตาเจน ผมของเราเจริญและงอกยาวเป็นเวลาเป็นเดือนถึงหลายปีแล้วเข้าสู่ระยะเทโลเจนแล้วหลุดร่วงไป การหลุดร่วงก็ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ภาวะตั้งครรภ์ ภาวะขาดสารอาหาร ความเครียดบางอย่างจะส่งผมต่อวงจรการเกิดผมให้ผิดปกติไป อาจจะทำให้พบภาวะผมร่วงในระยะเทโลเจนที่ปริมาณมากกว่าปกติ
สาเหตุของผมร่วงในระยะเทโลเจนที่มากกว่าปกติ อาจเกิดจากหลายปัจจัยมาก เช่น
- ผลข้างเคียงของยาบางตัว เช่น ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน, ยารักษาสิวชื่อ retinoid, ยาลดการแข็งตัวของเลือด, ยารักษาไทรอยด์, ยากันชัก, ยาเคมีบำบัด
- ภาวะเจ็บป่วยไม่สบายบางอย่าง เช่น ภาวะติดเชื้อรุนแรง โรคเรื้อรังบางโรค ความเครียด ภาวะหลังผ่าตัดหลัง
คลอด ภาวะอดอาหาร
ซึ่งภาวะเหล่านี้อาจจะเกิดก่อนมีผมร่วงได้ถึงสามเดือน แพทย์ผู้รักษาต้องทำการตรวจและซักประวัติคนไข้ทุกราย เมื่อตรวจร่างกายจะพบว่ามีผมบางทั่วๆศีรษะ หรือบางที่ผมหรือขนบริเวณอื่นๆด้วยก็เป็นได้ เมื่อดึงผมเบาๆ ทั่วๆ อาจจะพบมีผมหลุดร่วงออกมาชัดเจน ถ้าแพทย์ผู้ทำการรักษาเอาผมมาส่องตรวจจะพบว่าผมที่ร่วงเป็นระยะเทโลเจนมากกว่า 20% จะช่วยในการวินิจฉัยภาวะนี้
ภาวะผมร่วงในระจะเทโลเจนมีการพยากรณ์ของโรคค่อนข้างดี เมื่อรักษาต้นเหตุหมดไป ผมจะกลับมามากขึ้นใหม่เหมือนเดิม
Seborrheic keratosis(กระเนื้อ)
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน พบมากในผู้สูงอายุ การเกิดขึ้นของกระเนื้อจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังตามอายุ