Psoriasis (โรคสะเก็ดเงิน)

มารู้จักกับโรคสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงินเป็นหนึ่งในโรคผิวหนังที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก โรคนี้ไม่เพียงแต่เป็นปัญหาทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อสุขภาพจิตและความเชื่อมั่นในตนเองของผู้ป่วยด้วย ในบทความนี้เราจะสำรวจโรคสะเก็ดเงินตั้งแต่อาการ สาเหตุ และวิธีการจัดการที่เหมาะสม


อาการของโรคสะเก็ดเงิน

  • ผิวหนังอักเสบเป็นปื้นแดง ขอบชัดเจน มีขุยคล้ายสะเก็ดสีเงิน ตำแหน่งที่พบได้บ่อยคือ เข่า ศอก สะดือ หนังศีรษะ มีอาการ เจ็บ คัน หรือรู้สึกแสบร้อน

  • เล็บมีอาการผิดปกติ


สาเหตุของโรคสะเก็ดเงิน

  • สาเหตุของโรคยังไม่เป็นที่ทราบอย่างชัดเจน แต่คาดว่าเกิดได้จากปัจจัยทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม

  • ปัจจัยที่อาจส่งผลกระตุ้นให้เกิดโรค ได้แก่ อารมณ์เครียด ผิวหนังบาดเจ็บ (มีรอยฉีกขาด รอยแกะ รอยเกา เป็นต้น) อาการเจ็บคอที่เกิดจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส (Streptococcus) การเปลี่ยนแปลงของระดับออร์โมน และยาบางชนิด


ไขข้อสงสัย “โรคสะเก็ดเงิน” เกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ ?

  • พันธุกรรม (Genetics) เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่เป็นสาเหตุของโรคสะเก็ดเงิน โดยพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นสะเก็ดเงินมีประวัติบุคคลในครอบครัวเดียวกันเป็นโรคสะเก็ดเงินมาก่อน

  • สิ่งแวดล้อม (Environmental factors) เช่น อากาศร้อนหรือเย็น การอยู่ท่ามกลางแสงแดดจ้า การถูกแมลงสัตว์กัดต่อย

  • การติดเชื้อไวรัส เช่น กลุ่มไรโนไวรัส (Rhinoviruses) ไวรัสเอชไอวี (HIV) ไวรัสเอชพีวี (HPV) ไวรัสตับอักเสบซี (HCV)

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น สเตปโตคอคคัส (Streptococcus) ในระบบทางเดินหายใจ สาเหตุการเจ็บคอ ทอนซิลอักเสบ

  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ หากนอนดึกพักผ่อนน้อย ก็สามารถเสี่ยงเป็นสะเก็ดเงินได้

  • ความเครียด หากมีอาการเครียดสะสม ส่งผลต่อฮอร์โมน สามารถทำให้เป็นสะเก็ดเงินได้

  • ยาบางชนิด เช่น ยาเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-blockers) ยาลิเทียม (Lithium)

  • การได้รับบาดเจ็บที่ผิวหนัง หรือผิวหนังอักเสบหลังการผ่าตัด

โรคสะเก็ดเงิน อันตรายไหม ?

โรคสะเก็ดเงิน เป็นอาการอักเสบของผิวหนังเป็นปื้นแดง มีขอบชัดเจน มีขุยคล้ายสะเก็ดสีเทาเงิน สามารถพบได้ทั้งอาการเฉียบพลันและเรื้อรัง ตำแหน่งที่พบบ่อย คือ เข่า ศอก สะดือ หนังศีรษะ รองลงมาจะเป็นขาหนีบ รักแร้ อวัยวะเพศ ใต้ฐานเต้านม ความผิดปกติร่วมอื่นๆ ของอาการที่พบ คือ เล็บผิดปกติ และ ข้ออักเสบ

สะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อ ควรดูแลไม่ให้ตัวเองเครียด คนรอบข้างควรให้กำลังใจ การกินอิ่มนอนหลับจะช่วยคุมให้โรคสงบได้ ผู้ป่วยควรดูแลตัวเอง รู้ว่าอะไรควรทำและไม่ควรทำ รวมถึงควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้โรคมีความรุนแรงมากขึ้น

หากต้องการการรักษาที่ใกล้ชิดสามารถติดต่อเข้ามารักษาได้ที่โรงพยาบาลผิวหนัง อโศก เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังพร้อมให้การบริการอย่างเต็มที่

เช็คด่วน! อาการเหล่านี้บ่งบอกว่าคุณเป็น “โรคสะเก็ดเงิน”

  1. เป็นผื่นแดงหนา ขอบเขตชัดเจน มีสะเก็ดสีเงินปกคลุม

  2. เมื่อขูดลอกสะเก็ดออกจะพบจุดเลือดออกเล็ก ๆ บนรอยผื่น

  3. ผื่นอาจเกิดบนรอยแผลถลอกหรือรอยแผลผ่าตัด

  4. ผื่นอาจมีขนาดเล็ก หรือใหญ่กระจายทั่วร่างกาย

  5. ผื่นมักกระจายในบริเวณที่มีการเสียดสี

  6. ที่ศีรษะมีผื่นแดงลอกเป็นขาวคล้ายรังแค

  7. เล็บมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ผิดปกติ

  8. มีอาการปวด เนื่องจากการอักเสบ ทำให้ปวดข้อ

ใครที่มีอาการเหล่านี้ อย่ารอช้า!

สามารถนัดวันเพื่อเข้ามาปรึกษาและรักษาได้ที่โรงพยาบาลผิวหนังอโศก ดูแลรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยเฉพาะ


การจัดการและรักษาโรคสะเก็ดเงิน

  • การรักษาโรคสะเก็ดเงินมุ่งเน้นที่การจัดการอาการและลดความรุนแรงของโรค

  • การใช้ยารับประประทาน อาจใช้ร่วมกับยาฉีด ixekizumab (Taltz) หรือการใช้ยาทาผิวหนัง เพื่อควบคุมอาการและลดการระบาดของโรค

  • การใช้ครีมเพื่อบำรุงผิวหนังและลดอาการคัน


การดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิต 

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นเช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ พักผ่อนไม่เพียงพอ

  • การออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อลดความเครียดและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

  • พบแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อพิจารณาการรักษาที่ถูกต้อง

  • การรักษาสุขภาพจิต และการปรับเปลี่ยนวิธีการคิดเชิงบวก

  • การรับรู้และเข้าใจถึงโรคเพื่อสนับสนุนตนเองและการพูดคุยกับบุคคลในครอบครัวและผู้ดูแล


รู้หรือไม่ ⁉️ สะเก็ดเงิน ไม่ใช่โรคติดต่อ ‼️

โรคสะเก็ดไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้ เป็นอาการผิดปกติของภูมิคุ้มกัน ทำให้เซลล์ผิวหนังแบ่งตัวเร็วกว่าปกติ ทำให้พัฒนาการของผิวหนังไม่สมบูรณ์ อาการของโรคสะเก็ดเงินที่พบจะเป็น ผื่นแดงหนา เมื่อขูดสะเก็ดออกจะพบเป็นจุดเลือดเล็กๆ ส่วนมากจะพบที่บริเวณข้อศอก หัวเข่า หน้าแข้ง ลักษณะของอาการสามารถเป็นผื่นขนาดเล็กหรือกระจายทั่วร่างกายได้ หากผิวหนังถลอกเล็กน้อยก็สามารถทำให้เกิดผื่นบริเวณนั้นได้


โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงจำเป็นต้องรักษาระยะยาวเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกำเริบของโรค ถ้าผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงต้องมีการทานยาควบคู่ด้วยและต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่เชี่ยวชาญ หากต้องการคำปรึกษาในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน สามารถจองคิวเพื่อทำการนัดรักษาได้ที่ โรงพยาบาลผิวหนังอโศก เรามีทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี พร้อมดูแลและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคผิวหนังทุกชนิด


จุดพบบ่อยของ “ โรคสะเก็ดเงิน “


อาการของโรคสะเก็ดเงินส่วนมากจะมีลักษณะ ผื่นแดงทำให้ผิวหนังจะหนาเป็นปื้น มีสะเก็ดขาวปกคลุม เมื่อสะเก็ดหลุดออกจะมองเห็นจุดเลือดเล็กๆ ใต้ผิวหนัง ผื่นสะเก็ดเงินส่วนมากจพบบริเวณที่มีการเสียดสี การเกา การแกะบ่อยๆ เช่น ศีรษะ ข้อศอก หรือหัวเข่า เป็นต้น บางรายก็พบความผิดปกติที่เล็บ มีสีเหลือง / น้ำตาล เป็นรอยบุ๋ม หรือมีจุดสีน้ำตาลใต้เล็บ บางรายอาจมีอาการรุนแรงจากข้ออักเสบรวมด้วย ควรรีบพบแพทย์ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะทำให้เกิดอาการข้อผิดรูปถาวร

นอกจากนี้ผื่นสะเก็ดเงินสามารถพบบริเวณอื่นๆ ได้อีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ลำตัว ก้นกบ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอวัยวะเพศ โดยการกระจายของผื่นจะเกิดขึ้นของทั้ง 2 ฝั่งร่ายกายเท่าๆ กัน

รู้หรือไม่ ?! โรคสะเก็ดเงิน … แค่เครียดก็เป็นได้

สาเหตุการเกิดโรคพบว่าการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังจะเร็วกว่าปกติในบริเวณที่เป็นผื่น ซึ่งการเกิดผื่นมีสาเหตุมาจากปัจจัยบางอย่างกระตุ้น เช่น อารมณ์เครียด ผิวหนังบาดเจ็บ การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน ผู้ป่วยสะเก็ดเงินจึงควรหลีกเลี่ยงการเสี่ยงให้เกิดปัจจัยดังกล่าว

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ❌

- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

- การสูบบุหรี่และความเครียด

- อาหารที่มีไขมันสูงและเนื้อแดง

- การซื้อยามากินเอง

สิ่งที่ควรทำ ✔️

- บำรุงผิวให้ชุ่มชิ้น

- พักผ่อนให้เพียงพอ

- ออกกำลังกายคุมน้ำหนัก

- พบแพทย์สม่ำเสมอ


Psoriasis

Psoriasis is a chronic autoimmune condition that primarily affects the skin, leading to the rapid proliferation of skin cells, which results in thick, scaly patches on the surface of the skin. These patches, commonly referred to as plaques, can appear anywhere on the body but are most frequently found on the elbows, knees, scalp, and lower back.

Causes

The exact cause of psoriasis is not completely understood, but it is believed to be linked to an immune system dysfunction that triggers inflammation in the body. Genetic factors may also play a significant role in the development of the condition, as it often runs in families. Environmental triggers such as stress, skin injuries, infections, and certain medications can exacerbate the symptoms of psoriasis.

Symptoms

Individuals with psoriasis may experience the following symptoms:

  • Red patches of skin covered with thick, silvery scales

  • Dry, cracked skin that may bleed

  • Itching, burning, or soreness

  • Thickened, pitted, or ridged nails

  • Swollen and stiff joints (in cases of psoriatic arthritis)

Types of Psoriasis

There are several types of psoriasis, with the most common being:

  1. Plaque Psoriasis: Characterized by raised, inflamed patches covered with silvery-white scales.

  2. Guttate Psoriasis: Often begins in childhood or young adulthood, appearing as small, drop-shaped lesions.

  3. Inverse Psoriasis: Occurs in skin folds, such as under the breasts, in the groin, or around the buttocks.

  4. Pustular Psoriasis: Involves white pustules (blisters of noninfectious pus) surrounded by red skin.

  5. Erytoderma: A severe, rare form of psoriasis that can cover the entire body with a red, peeling rash that can itch or burn intensely.

Diagnosis and Treatment

Diagnosis typically involves a thorough examination of the skin, review of medical history, and sometimes a skin biopsy to rule out other conditions.

Treatment options vary depending on the severity and type of psoriasis and may include:

  • Topical treatments: Corticosteroids, vitamin D analogs, or retinoids to reduce inflammation and slow skin cell growth.

  • Phototherapy: Controlled exposure to ultraviolet light.

  • Systemic medications: Oral or injected medications that affect the entire body, such as methotrexate, cyclosporine, or biologics.

Living with Psoriasis

Managing psoriasis requires a combination of medical treatment and lifestyle adjustments. Maintaining a healthy lifestyle, managing stress, and avoiding known triggers can significantly improve the quality of life for individuals with psoriasis. Regular consultations with a dermatologist can help monitor the condition and adjust treatment plans as necessary.

If you suspect you have psoriasis or are experiencing related symptoms, consult a healthcare professional for proper evaluation and management. At Asoke Skin Hospital, we offer specialized care tailored to your unique skin health needs.


Meet us at Asoke skin hospital

At Asoke Skin Hospital, our psoriasis dermatologists are highly specialized in diagnosing and treating all forms of psoriasis, a chronic autoimmune condition that can significantly impact your quality of life. Our team utilizes the latest evidence-based treatments tailored to individual needs, including topical therapies, phototherapy, and systemic medications.

Our dermatologists are dedicated to staying abreast of the latest research and advancements in psoriasis management. They perform comprehensive evaluations to determine the severity of your condition and any associated comorbidities, ensuring a thorough and personalized approach to your care.

With a focus on patient education, we empower individuals to understand their condition and the various treatment options available. We believe that effective communication between our dermatologists and patients is essential in devising an optimal management plan.

If you are struggling with psoriasis or need a consultation with a psoriasis dermatologist expert, we invite you to seek care at Asoke Skin Hospital, where our commitment to excellence and patient-centered care ensures the best possible outcomes for your skin health.

Previous
Previous

Filler (สารเต็มเต็มฟิลเลอร์)

Next
Next

Excimer phototherapy