SCAR (แผลเป็น)

Keloid scar

แผลเป็น เกิดจากการซ่อมแซมผิวหนังที่เกิดจากแผลที่ลงลึกถึงหนังแท้โดยมีการสร้างคอลลาเจนใหม่และเนื้อเยื้อพังผืดที่ขึ้นมาแทนคอลลาเจนเดิมที่ถูกทำลายไป แผลเป็นใหม่ ๆ จะมีสีแดงหรืออมชมพูต่อมาเมื่อเวลานานเข้าก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ดำ หรือสีขาวก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของแผลเป็นผิวหนัง บริเวณที่เกิดแผลเป็นนั้นจะมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากผิวหนังทั่วไป โดยผิวหนังจะบางลงและไม่มีขน หรือ รูขุมขนเหลืออยู่

ประเภทของแผลเป็น

แผลเป็นแบ่งได้เป็น 3 ชนิดตามลักษณะดังนี้

1. แผลเป็นนูน ( HYPERTROPHIC SCAR) มักมีรูปร่างเป็นตุ่มหรือก้อนนูนแข็ง

2. แผลเป็นคีลอยด์ (KELOID) ลักษณะคล้ายแผลเป็นนูนแต่มีลักษณะพิเศษคือมักจะมีขนาดใหญ่ และลามออกมากกว่าบริเวณที่เป็นแผลเริ่มแรกและมักมีสีเข้มกว่าผิวหนังปกติข้างเคียง

3. แผลเป็นบุ๋ม (ATROPHIC SCAR) มีลักษณะผิวยุบลงไปมากกว่าผิวปกติข้างเคียง และมักมีสีขาวกว่าผิวปกติ

การรักษา

กรณีของ แผลเป็นนูน หรือคีลอยด์ รักษาได้โดย

การฉีดยา เช่น TRIAMCINOLONE, BLEOMYCIN, 5-FLUOURACIL, TACROLIMUS, INTERFERON นอกจากนั้นก็จะมีการแปะแผ่น SILICONE GEL

หรือการผ่าตัดออก ซึ่งบางครั้งอาจร่วมกับการทำ SKIN GRAFT

การทำ Laser V- Beam Laser สามารถลดขนาดและสีของแผลเป็นได้

แผลเป็นบุ๋ม (ATROPHIC SCAR) รักษาโดยการฉีดคอลลาเจน (RESTYLANE), การทำ(SUBCISION) หรือกระตุ้นการสร้องคอลลาเจนขึ้นใหม่โดยใช้ FRACTIONAL PHOTOTHERMOLYSIS LASER (SELLAS)

Next
Next

Seborrheic keratosis(กระเนื้อ)