Vascular birthmark (ปานแดงในเด็ก)

เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็ก โดยบางชนิดสามารถหายเองได้เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ส่วนการรักษาต้องดูจากปัจจัยและภาวะแทรกช้อนต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. ปานก้อนเส้นเลือด (Hemangioma) เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดที่รวมตัวกันเป็นก้อน เมื่อเด็กโตขึ้นปานจะค่อยๆ เล็กลง เหลือเป็นเส้นเลือดสีแดงหรือรอยขรขระบริเวณผิวหนัง เป็นปานที่พบบ่อยในเด็ก แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการในเส้นเลือด ซึ่ง

ลักษณะที่พบได้บริเวณผิวหนังมี 3 กลุ่มคือ

1.1 Superficial hemangioma the strawberry hemangioma เป็นปานแดงที่อยู่บนหนังแท้ มีสีแดงสดคล้ายสตรอวเบอรี่

1.2 Deep hemangioma มีลักษณะเป็นก้อน อยู่ส่วนล่างของหนังแท้ ก้อนมีสีน้ำเงินอมเขียว เมื่อกดลงไปที่บริเวณก้อนจะบุ๋มลง และจะกลับคืบคืนทรงเมื่อปล่อยมือ

1.3 Combined hemangioma เป็นปานที่มีทั้ง 2 ลักษณะอยู่ด้วยกัน

2. ปานหลอดเลือด (Port-wine stain) เป็นปานสีแดงอมม่วง ซึ่งอาจพบร่วมกับความผิดปกติของหลอดเลือดสมองด้วย เด็กที่มีปานลักษณะนี้จะนูนหนาเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น แต่จะไม่จางลงเหมือนปานก้อนเส้นเลือด

การรักษาเนื้องอกเส้นเลือดในเด็ก (Hemangioma) โดยปกติเด็กที่มีเนื้องอกในเส้นเลือดจะมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็วจนถึงอายุ 2 ปี หลังจากนั้นก้อนเนื้องอกจะมีขนาดคงที่และสีจะจางลง ผู้ป่วยร้อยละ 50 จะหายเมื่อมีอายุ 5 ปี ร้อยละ 70 เมื่อมีอายุ 7 ปี และร้อยละ 90 เมื่อมีอายุ 9 ปี ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้น เพราะก้อนสามารถยุบเองได้ แต่ยังมีร่องรอยการเปลี่ยนแปลงของผิวเหลืออยู่ ทำให้เกิดภาวะ แทรกซ้อน คือ มีแผลเลือดออก พบความผิดปกติของเลือดและเกร็ดเลือด วิธีการรักษาต้องดูจากปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น นัดดูอาการเป็นระยะ การรับประทานยา เลเซอร์ และผ่าตัด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีก้อนเนื้อขนาดใหญ่เบียดอวัยวะสำคัญของร่างกาย แพทย์จะฉีดยาและให้ยารับประทานเพื่อลดอาการแทรกช้อนโดยเลือกใช้ยาในกลุ่ม beta blocker เช่น timolol propranolol เนื่องจากยาทำให้ภาวะความดันต่ำหัวใจเต้นข้า หายใจมีเสียงวี้ด มือเท้าเย็น มีปัญหาด้านการนอน ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรให้แพทย์ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

Previous
Previous

Seborrheic keratosis(กระเนื้อ)

Next
Next

Dealing with Skin Issues During Summer (รับมือกับเรื่องผิวในช่วงหน้าร้อน)