Peeling Hands and Feet in Children(มือเท้าลอกในเด็ก)
สาเหตุที่ทำให้เกิดมือเท้าลอกที่พบได้ในเด็ก
· โรคผิวหนังที่เกิดจากการอักเสบ เช่น
- จากการแพ้หรือผื่นแพ้สัมผัส (allergic contact dermatitis) หรือผื่นแพ้เกิดหลังจากการสัมผัสสารระคายเคือง หรือ (irritant contact dermatitis) ในผู้ที่แพ้ถุงมือ น้ำยาล้างจาน
- ผื่นแดงหรือตุ่มน้ำร่วมด้วยจะพบได้ในโรค (dyshidrotic eczema)
- ผื่นเป็นๆหายๆร่วมกันมีผิวแห้ง ผื่นแดง มีขุย และมักจะคันบริเวณข้อพับแขน ขา ในโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis)
· สะเก็ดเงิน (psoriasis) สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากหลายๆปัจจัย เช่น พันธุกรรม ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้มีการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังที่เร็วผิดปกติ มักมีผื่นบริเวณอื่นในร่างกายร่วมด้วย เช่น หนังศีรษะ ลำตัว แขน ขา ผื่นลักษณะแดง ปื้นหนาและมีสะเก็ดสีขาว บางครั้งอาจพบเป็นตุ่มหนอง และอาจพบความผิดปกติของเล็บมือเล็บเท้าร่วมด้วย สะเก็ดเงินมีหลายชนิด สำหรับสะเก็ดเงินชนิดที่มีผื่นบริเวณมือและเท้า เรียก (palmoplantar psoriasis)
· เชื้อรา ในเด็กเล็ก บางครั้งความอับชื้น หรือในเด็กเล็กที่วิ่งเล่นตามพื้นดินด้วยเท้าเปล่า หรือจะทำให้เกิดผื่นตามซอกพับนิ้วมือ หรือนิ้วเท้าจากเชื้อราได้ ส่วนใหญ่คุณหมอจะขูดเชื้อตรวจทางห้องปฏิบัติการ ส่วนใหญ่ในเด็กพบค่อนข้างน้อย
· อาการมือเท้าลอกเกิดภายหลังการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส ใน scarlet fever หรือไข้อีดำอีแดง มักพบในเด็กอายุ 5-10 ปี ช่วงแรกจะมีอาการเจ็บคอ มีไข้ มีผื่นแดงสากคล้ายกระดาษทรายบริเวณลำตัว ต่อมาจะมีอาการลอกบริเวณมือ เท้า และยังพบบริเวณศอก เข่าได้ด้วย หากเป็นผื่น
จากไข้อีดำอีแดงแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง หลังการติดเชื้อที่ผิวหนัง 3-4 สัปดาห์ อาจเกิดอาการแทรกซ้อนทำให้ไตอักเสบแบบเฉียบพลันได้
· Kawasaki disease โรคคาวาซากิ เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน พบได้บ่อยในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี มีอาการไข้สูง ปากแดง ตาแดง มือเท้าบวม ต่อมน้ำเหลืองโต ลักษณะที่พบได้คล้ายกันกับที่พบในโรคคาวาซากิและโรคไข้อีดำอีแดง คือ มีลิ้นแดงเป็นตุ่ม คล้ายสตอเบอรี่ และอาจพบต่อมน้ำเหลืองโตได้ในทั้งสองโรค อาการดีขึ้นจึงพบอาการลอกที่มี เท้า ในความซากิจะลอกเป็นผื่นบางๆเล็กๆ มักลอกบริเวณขอบเล็บ ต่างจากในไข้อีดำอีแดงซึ่งบางครั้งการลอกที่มือ เท้าอาจลอกเป็นแผ่นใหญ่ๆได้ หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจเกิดอาการแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดได้
ภาวะมือเท้าลอกที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ ส่วนหนึ่งจะเป็นมีประวัติเฉียบพลัน และในกลุ่มที่มีอาการเรื้อรัง เป็นๆหายๆ ส่วนน้อยเป็นอาการที่ตรวจพบซึ่งพบกับภาวะโรคอื่นๆ หมอซักประวัติและตรวจร่างกายเพิ่มเติม น้องเชอรี่ไม่มีไข้ จึงไม่นึกถึงโรคคาวาซากิ ผื่นเข้าได้กับโรคผื่นผิวหนังอักเสบจากอาการแพ้ เนื่องจากน้องแอบไปเล่นครีมของคุณแม่ เมื่อให้ทาครีมบำรุงและยาลดการอักเสบ หลีกเลี่ยงการอาบน้ำนาน การแช่น้ำ หรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดความอับชื้นบริเวณเท้า อาการค่อยๆดีขึ้น ช่วงหน้าหนาวอากาศเริ่มเย็นคุณแม่อย่าลืมให้น้องๆทาครีมบำรุงบ่อยๆและทุกครั้งหลังอาบน้ำนะคะ